top of page

Silent Classroom - Classroom Management

จะดีแค่ไหน ถ้าเวลาที่คุณครูสอนเนื้อหาที่สำคัญ แล้วนักเรียนเงียบ ตั้งใจฟังอย่างพร้อมเพรียงกัน

วันนี้เรามีเทคนิคการจัดการชั้นเรียนง่าย ๆ เพื่อให้คุณครูสามารถหยุดหรือลดพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์ต่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เทคนิคห้องเรียนเงียบ (Silent Classroom) มาดูกันว่า ห้องเรียนเงียบ ใช้อย่างไร แล้วคุณครูต้องระมัดระวังเรื่องใดบ้าง เราจะมาอธิบายให้ฟังกัน



ห้องเรียนเงียบ เป็นเทคนิคในการจัดการชั้นเรียนที่จะช่วยให้คุณครูสามารถดึงความสนใจของนักเรียนให้กลับมาสู่บทเรียนได้ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการส่งสัญญาณและการใช้ความเงียบในการจัดการห้องเรียน



การสร้างห้องเรียนเงียบ มีหลายวิธีการด้วยกัน เช่น การปรบมือในห้องเรียน การใช้นาฬิกาในการนับเวลา การยืนในจุดต่าง ๆ ของห้องเรียน การใช้ไฟสัญลักษณ์ การทวนกฎเกณฑ์ หรือแม้กระทั่งการระบุชื่อนักเรียน คุณครูก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เทคนิคห้องเรียนเงียบ เหมาะกับการใช้ควบคุมชั้นเรียนกับเด็กทุกคนในห้องเรียนหรือรายบุคคลก็ได้ เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนแบบทันที

อย่างไรก็ตามการใช้เทคนิคห้องเรียนเงียบ มีข้อควรระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการระบุชื่อนักเรียนรายบุคคล อาจจะสร้างความอับอายหรือปมให้แก่นักเรียนได้ คุณครูจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรอธิบายแก่นักเรียนให้ชัดเจนหลังจากใช้วิธีการระบุชื่อนักเรียนลงไป เพื่อปรับความเข้่าใจและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและนักเรียนต่อไป




ทั้งนี้คุณครูสามารถโหลดเทคนิคห้องเรียนเงียบ (Silent Classroom)ฉบับเต็มและเอกสารอ้างอิงได้จากลิงค์ด้านล่าง

Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page