Constructive Feedback - Classroom Management
![](https://static.wixstatic.com/media/7cd5a0_ae8963b5db2c47a787a1b562895888fb~mv2.png/v1/fill/w_318,h_159,al_c,q_85,enc_auto/7cd5a0_ae8963b5db2c47a787a1b562895888fb~mv2.png)
อยากให้เด็กนักไปเรียนไปถึงเป้าหมาย แค่ ข้อเสนอแนะ (Feedback) อย่างเดียวคงไม่พออีกต่อไป เราจะพาเด็กนักเรียนของเราไปให้ไกลขึ้นได้อย่างไร สำหรับบทความนี้เราจะพาคุณครูไปรู้จักกับ ข้อเสนอแนะรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Feedback)
การให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ มีเป้าหมายหลักคือ การปรับและพัฒนาความรู้ วิธีการของนักเรียนผ่านข้อเสนอแนะเชิงบวก โดยเน้นที่ตัวพฤติกรรม ไม่ใช่ตัวนักเรียน และให้นักเรียนนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง
การให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์นั้น คุณครูสามารถมอบให้แก่นักเรียนได้ตลอดเวลา ทั้งในคาบเรียนผ่านการทำงานของนักเรียนรายบุคคลหรือการเฉลยเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกตนเอง เช่น โจทย์ข้อนี้เคยทำเรียบร้อยแล้ว นักเรียนลองเปิดหาในสมุดของนักเรียนดู อีก 2-3 นาทีครูจะกลับมาใหม่ เป็นต้น และการให้หลังคาบเรียนผ่านการตรวจงาน เช่น การระบุส่วนที่นักเรียนทำผิดให้ชัดเจน และให้วิธีการแก้ไขบางส่วนกลับไปพร้อมคำแนะนำ เป็นต้น
![](https://static.wixstatic.com/media/7cd5a0_525f372b7b5b43f895b79807efe674f5~mv2.jpeg/v1/fill/w_243,h_208,al_c,q_80,enc_auto/7cd5a0_525f372b7b5b43f895b79807efe674f5~mv2.jpeg)
การให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ เหมาะสำหรับการให้คำแนะนำและสะท้อนความคิดเห็นในเชิงพัฒนาแก่นักเรียนของตน เพื่อให้นักเรียนสามารถนำข้อเสนอแนะเหล่านั้น กลับไปใช้ในชีวิตของตนเองได้ ทั้งนี้คุณครูสามารถมอบข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนทุกคน เพื่อมห้นักเรียนได้พัฒนาตนเองและมองเห็นข้อผิดพลาดของตัวเอง
ทั้งนี้ การให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ คุณครูอาจจะต้องระวังในเรื่องของคำพูด และพยายามทำความเข้าใขหรือสิ่งที่อยากให้นักเรียนพัฒนาอย่าา่งตรงประเด็น เพื่อความชัดเจนในข้อเสนอแนะ รวมไปถึงการติดตามผลหลังจากให้คำแนะนำก็เป็นส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้คุณครูสามารถโหลดเทคนิค ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Feedback) ฉบับเต็มและเอกสารอ้างอิงได้จากลิงค์ด้านล่าง